อย่างที่เรารู้ ๆ กันดีอยู่แล้ว เรื่องของการนำเข้าสินค้าในประเทศไทยต้องเสียภาษีและอากรตามกฎหมาย ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและเงื่อนไขต่าง ๆ ในการนำเข้า สำหรับคนที่กำลังวางแผนจะนำเข้าสินค้า ท่านจะต้องรู้อะไรบ้าง มีอะไรที่ต้องระวัง มาเช็คสิ่งที่ต้องรู้ไปพร้อม ๆ กันครับ
“เตรียมตัวให้พร้อมกับสิ่งที่ควรรู้ เทคนิค กฏระเบียบของการนำเข้าสินค้า เสียภาษีอากรอย่างไร มีอะไรบ้างที่ต้องรู้ นำเข้าสินค้าให้ถูกต้องตามกฏหมาย ป้องกันปัญหาที่จะตามมา”
ประเภทภาษีและอากรนำเข้าในประเทศไทย
1. อากรนำเข้า (Import Duty) สิ่งแรกที่ผู้ซื้อต้องทำความเข้าใจในเรื่องของค่าใช้จ่าย นั่นก็คือ อากรนำเข้า โดยจะคิดตามพิกัดศุลกากร (HS Code) ของสินค้า ซึ่งกำหนดอัตราภาษีแตกต่างกันไปตามชนิดของสินค้า โดยอัตราอากรนำเข้าอาจอยู่ระหว่าง 0-80% หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าเป็นหลัก จุดนี้ผู้ซื้อควรศึกษาประเภทของสินค้าให้ละเอียดก่อนสั่งซื้อสินค้าเป็นดีที่สุด
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เรื่องของภาษีมูลค่าเพิ่มที่ประเทศไทยบ้านเราก็มีอัตราการคิดอยู่ที่ 7% จากมูลค่าของสินค้า รวมกับค่าขนส่ง อากรนำเข้า และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้ซื้อสามารถเข้าไปเช็คได้ที่เว็บของภาษีมูลค่าเพิ่มหรือสินค้านำเข้าประเทศก็ได้เช่นกัน ในนั้นจะมีบอกรายละเอียดให้หมดเลย
3. ภาษีสรรพสามิต (ถ้ามี) สำหรับสินค้าบางประเภท เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำมัน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็จะมีภาษีตัวนี้เพิ่มเข้ามาด้วยอยู่แล้ว ส่วนนี้ทำให้ผู้ซื้อเสียภาษีน้อยลง
4. ภาษีเพื่อมหาดไทย (ถ้ามี) สำหรับภาษีประเภทนี้ ผู้นำเข้าจะต้องถูกเรียกเก็บภาษีเพื่อมหาดไทย เมื่อถูกเรียกเก็บภาษีสรรพสามิต โดยคำนวนง่าย ๆ คือ: ภาษีเพื่อมหาดไทย = ภาษีสรรพสามิต x 10%
เอกสารที่ต้องใช้ในการเสียภาษีและอากร
-
ใบขนสินค้าขาเข้า (Import Declaration) เอกสารสำคัญที่ต้องใช้ยื่นต่อศุลกากร
-
ใบกำกับราคาสินค้า (Invoice) ใช้ยืนยันราคาสินค้าในการคำนวณภาษี
-
ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading หรือ Air Waybill) เป็นเอกสารสำหรับการขนส่ง
-
ใบอนุญาตหรือเอกสารรับรองอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ใบอนุญาตนำเข้า สำหรับสินค้าที่มีข้อจำกัดในบางชนิด
-
ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin – CO) เอกสารนี้สำคัญมากครับ โดยเฉพาะถ้าเราต้องการลดอากรหรือนำเข้าสินค้าภายใต้ข้อตกลง FTA
และนี่ก็คือสิ่งที่ผู้ซื้อจะต้องเตรียมตัว ในเรื่องของค่าใช้จ่ายและเอกสารต่าง ๆ หากต้องการนำสินค้าเข้าประเทศไทย หากผู้ซื้อท่านใดที่ต้องการข้อมูลในเรื่องของสินค้านำเข้าเพิ่มเติมนั้น แนะนำให้เข้าไปศึกษาเว็บที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ และเรื่องของการเสียภาษีเพิ่มเติม เพื่อความคุ้มค่าของผู้ซื้อเป็นดีที่สุดครับ